วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข่าวที่น่าชื่นชม "บัณฑิตสาวน้ำใจงาม ช่วยคนถูกรถชนทั้งเครื่องแบบ"

บัณฑิตสาวน้ำใจงาม ช่วยคนถูกรถชนทั้งเครื่องแบบ

บัณฑิตสาวน้ำใจงาม ช่วยคนถูกรถชนทั้งเครื่องแบบ

นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com
(2 ส.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโลกออนไลน์มีการแชร์เรื่องราวดีๆในสังคม จากเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Boon Khongkha ซึ่งได้โพสต์ภาพของบัณฑิตสาวคนหนึ่งยศว่าที่ร้อยตรีหญิง มีชื่อว่า น้องธัญญ่า อยู่ในชุดเครื่องแบบสีขาวที่ใส่สำหรับเข้าพิธีรับพระราชทานปริญญาบัตร ประสบเหตุบัณฑิตสาวร่วมสถาบันคนหนึ่งถูกรถชนจนเลือดอาบ ซึ่งผู้โพสต์ภาพบรรยายว่า น้องธัญญ่ารีบวิ่งเข้าไปช่วยเหลือทันทีทั้งที่ไม่รู้จักกัน ในภาพเจ้าตัวยังสวมมงกุฎดอกไม้ และไม่ได้สนใจว่าชุดสีขาวสะอาดจะเปื้อนเลือดแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อภาพดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็มีชาวสังคมออนไลน์แสดงความชื่นชมเธอเป็นอย่างมาก 
"คนงาม....หลังจากได้ยินผมบอก มีคนโดนรถชน เธอก็วิ่งเข้าไป และทำอะไรที่ผมไม่คาดคิด เธอเข้าไปช่วยโดยที่ไม่ต้องสวมถุงมือยางด้วย จนเลือดแปะเปื้อนที่แขนของเธอ ผมเองต้องเตือน และรีบเอาแอลกอฮอล์เช็ดให้ ผมไม่รู้ว่าวันนี้มีเพื่อนบัณฑิตรับปริญญาทั้งหมดกี่คน แต่....ผมรู้ว่า เธอเป็นบัณฑิตคนเดียวที่เข้าไปช่วยเหลือ ช่วยกดไลค์ให้บัณฑิตน้ำใจงามคนนี้ด้วยครับ"

โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา

โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา


ประวัติ

ในระยะแรกอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนวัดมวกเหล็กนอก (ราษฎร์พัฒนา) มีนักเรียน 46 คน และครู 6 คน มีนายทวี จันทวร เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ต่อมาได้ย้ายมาตังในที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) มีเนื้อที่ 41 ไร่ 0 งาน 13 ตารางวา มีอาคารเรียน 1 หลังเป็นแบบ 216 ล ซึ่งเป็น อาคาร 1 ในปัจจุบัน ปีการศึกษา 2521 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ และจำนวนนักเรียนชั้น ม.1 เพิ่มมากขึ้น จึงได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง [1]
ปีการศึกษา 2522 ได้รับงบประมาณสร้างหอประชุม 1 หลังอาคารโรงฝึกงาน 3 หลัง จำนวน 6 หน่วยอาคารพยาบาลและสหกรณ์จำนวน 1 หลัง
ปีการศึกษา 2527 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีแผนการเรียน 2 แผนการเรียน ได้แก่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และแผนการเรียนเกษตรกรรม
ปีการศุกษา 2528 ได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ราชพัสดุในการดูแลขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย(อสค)เพื่อสร้างสนามกีฬา จำนวน 7 ไร่ 0 งาน 05 ตารางวา
ปีการศึกษา 2531 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการนำร่อง "การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2524 เพื่อประกอบอาชีพอิสระ"ของกระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนจึงได้เปิดผนการเรียนอาชีพอิสระเพิ่มขึ้นอีก 1 แผนการเรียน และในปีนี้โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตรประจำปีการศึกษา 2532 โรงเรียนได้จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็น 6-5-5 และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น 3-2-2 รวมจำนวนห้องเรียน 23 ห้อง
ปีการศึกษา 2533 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตร มีนักเรียน 802 คน ครู-อาจารย์ 47 คน จำนวนห้องเรียน 23 ห้อง นักการภารโรง 5 คน และพนักงานขับรถ 1 คน
ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ"หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน"
ปีการศึกษา 2555 มีที่ดิน 48 ไร่ 0 งาน 18 ตารางวา มีครู-อาจารย์ 68 คน ครูอัตราจ้าง 8 คน พนักงานราชการ 2 คน มีจำนวนนักเรียน 1,600 มีนักการภารโรง 3 คน พนักงานขับรถ 1 คน
ปีการศึกษา 2556 ปัจจุบันมีที่ดิน 48 ไร่ 0 งาน 18 ตารางวา มีครู-อาจารย์ 63 คน ครูอัตราจ้าง 12 คน พนักงานราชการ 2 คน มีจำนวนนักเรียน 1,589 มีนักการภารโรง 3 คน พนักงานขับรถ 1 คน

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • ปรัชญาโรงเรียน : สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา บูชาคุณธรรม นำชุมชน
  • สีประจำโรงเรียน : สีเลือดหมู และสีเหลือง
  • ตราประจำโรงเรียน : ตราประจำโรงเรียนมีสัญลักษณ์และความหมาย ดังนี้
    • ดวงเทียน : ครูผู้ให้ความรู้แก่นักเรียน
    • รัศมี : แสงสว่างนำทางนักเรียนและชุมชน
    • ธมฺมจารี สุขํ เสติ : ความหมาย ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นสุข
    • ภูเขา ท้องฟ้า เมฆ : ธรรมชาติที่รอบล้อมโรงเรียน
    • ต้นกล้า : นักเรียนทุกคนที่กำลังเติบโตเป็นอนาคตของชาติ
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นประดู่แดง
  • เพลงประจำโรงเรียน : มาร์ชม.ว.[2]

    โรงเรียนที่ชื่นชอบ "โรงเรียนสุรนารีวิทยา"

    โรงเรียนสุรนารี


    ประวัติของโรงเรียน

    โรงเรียนสุรนารีวิทยา โรงเรียนสตรีของรัฐบาลแห่งแรกในจังหวัดนครราชสีมา เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ค. 2468 โดยแรกเริ่มได้ใช่ชื่อว่า “โรงเรียนประจำจังหวัด” อยู่ในบริเวณวัดสุทธจินดา ทำการสอนตั้งแต่ชั้นมูล (เด็กเล็ก) และในปี พ.ศ. 2470 ได้โอนนักเรียนหญิงทั้งหมดจากโรงเรียนประจำมณฑลนครราชสีมาไปอยู่รวมกัน และจึงเปิดสอนเฉพาะนักเรียนหญิง
    • พ.ศ. 2475 ก่อตั้งโรงเรียนเป็น “โรงเรียนประจำจังหวัด” ตั้งอยู่บริเวณวัดสุทธจินดา
    • พ.ศ. 2477 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสุรนารีวิทยา” เป็นโรงเรียนหญิง คู่กับโรงเรียนชายประจำจังหวัด "ราชสีมาวิทยาลัย"
    • พ.ศ. 2490 วันที่ 20 พฤษภาคม โรงเรียนสุรนารีวิทยาเริ่มเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
    • พ.ศ. 2493 ย้ายที่อยู่โรงเรียนมาตั้งอยู่ในที่ตั้งปัจจุบัน จัดเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดส่วนกลาง กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถานที่ตั้งเลขที่ 248 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ขนาดของพื้นที่ที่บริเวณโรงเรียน มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 53 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา
    พื้นที่แบ่งเป็น 2 ส่วน
    • ส่วนที่ 1 ปลูกสร้างอาคารเรียนตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ มีเนื้อที่ 48 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา
    • ส่วนที่ 2 ปลูกสร้างบ้านพักครูตั้งอยู่ถนนช้างเผือก มีเนื้อที่ 5 ไร่ 50 ตารางวา
    ที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียน มีจำนวน 2 แปลง
    • แปลงที่ 1 เป็นที่ดินราชพัสดุ จำนวน 48 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา
      • หมายเลขทะเบียนที่ นม. 747 โฉนดที่ 735 เลขที่ 6 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    • แปลงที่ 2 เป็นที่ราชพัสดุ จำนวน 5 ไร่ 46 ตารางวา
      • หมายเลขทะเบียนที่ นม. 91 โฉนดที่ 5090 เลขที่ 6 ถนนช้างเผือก ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    • โรงเรียนสุรนารีวิทยาเป็นโรงเรียนที่มีต้นกำเนิดของโรงเรียนมัธยมแบบประสมแห่งแรกของประเทศไทย (Comprehensive School)
    • พ.ศ. 2495 ทางการได้แต่งตั้ง นางสาวลาวัลย์ ถนองจันทร์ ครูใหญ่โรงเรียนสตรีร้อยเอ็ดมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนสุรนารีวิทยา
    • พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนสุรนารีวิทยา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งแก่ชาวสุรนารีวิทยาจากผลการทดสอบนี้ยังมีมีผลให้เกิดโรงเรียนมัธยมแบบประสมในประเทศอีกหลายโรงเรียน รวมทั้งหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ก็มีผลจากการทดลองจัดการศึกษาที่โรงเรียนสุรนารีวิทยาแห่งนี้อีกด้วย
    • พ.ศ. 2519 นางสาวลาวัลย์ ถนองจันทร์ ได้รับแต่ตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ และกรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้ นางฉวี ถีระวงษ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรนารีวิทยาแทน และสร้างอาคารอเนกประสงค์ชั้นล่างเป็นห้องสมุด ซึ่งได้รับ พระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า “อาคารวิทยาสมาคร” และเสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524
    • พ.ศ. 2528 นางฉวี ถีระวงษ์ เกษียณอายุราชการ กรมสามัญศึกษาแต่ตั้งนางสมพงศ์ ศิริวัฒน์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรนารีวิทยา
    • พ.ศ. 2537 นางสาวสมจิตต์ บุตรดีมี ผู้อำนวยการระดับ 9 มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรนารีวิทยา ต่อจากนางสมพงศ์ ศริวัฒน์ ที่เกษียณอายุราชการ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ 8 ชั้น ซึ่งสร้างเสร็จในปีงบประมาณ 2542
    • พ.ศ. 2542 นายศิลปสิทธิ์ ทับทิมธงไชย ผู้อำนวยการระดับ 9 ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสุรนารีวิทยา ต่อจากนางสาวสมจิตต์ บุตรดีมี ที่เกษียณอายุราชการได้ดำเนินงานตามนโยบาย
    • พ.ศ. 2543 ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายนโรงเรียนสุรนารีสังกัดโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ
    • พ.ศ. 2546 ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม โรงเรียนสุรนารีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
    • พ.ศ. 2547 โรงเรียนสุรนารีวิทยา ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้จัดหลักสูตรโครงการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เน้นการศึกษา (English Program) ระดับช่วงชั้นที่ 3

    เกียรติประวัติ

    โรงเรียนสุรนารีวิทยา ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนนำร่องผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ เพื่อสนองและนำผลการปฏิรูปการศึกษาไปสู่ความสำเร็จ และตามกฎกระทรวง ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
    • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พิจารณาให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคู่พัฒนา ปีการศึกษา 2550 ระหว่างโรงเรียนสุรนารีวิทยา กับโรงเรียนสุรนารีวิทยา ๒ เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน
    • โรงเรียนสุรนารีวิทยา ได้รับคิดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดหลักสูตรโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับการพัฒนา และส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับช่วงชั้นที่ 4 ปีการศึกษา 2551
    • โรงเรียนสุรนารีวิทยา ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมในการใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศึกราช 2551 เริ่มใช้ปีการศึกษา 2552
    • โรงเรียนสุรนารีวิทยา นักเรียนวงโยธวาฑิตโรงเรียนสุรนารีวิทยา จำนวน 120 คน ได้แชมป์ถ้วยพระราชทานจากการประกวดวงโยธวาฑิตนักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2552
    • โรงเรียนสุรนารีวิทยา ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดแข่งขันดนตรีโลก ครั้งที่ 16 ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2552 ได้รับรางวัลเกียรติยศ คือ รางวัลเหรียญทองประเภท Maching และรางวัลชนะเลิศ Top of The World Championship ประเภท Display
    • โรงเรียนสุรนารีวิทยา ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ปีการศึกษา 2552 ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ "ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2552"

    สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

    ต้นเฟื่องฟ้า ต้นไม้ประจำโรงเรียน
    • ตราประจำโรงเรียน ตรงกลางเป็นรูปคุณย่าโมครอบด้วยเสมา ข้างล่างเป็นชื่อ โรงเรียนสุรนารีวิทยา
    • น้ำเงิน - ขาว คือสีประจำโรงเรียน ที่มีความหมายถึงกุลสตรีสุรนารีวิทยา
         สีน้ำเงิน หมายถึง สงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม ละเอียด รอบคอบ สง่างาม สูงศักดิ์มีศักดิ์ศรี เป็นระเบียบ ถ่อมตน
         สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ ซื่อสัตย์ สะอาด ปราศจากมลทิน
    ทั้งสองสีรวมกันจึงหมายถึง การเปรียบเสมือนสตรีที่สุภาพ มีความสง่างาม และมีความบริสุทธิ์ ปราศจากมลทินทั้งปวง
    • ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นเฟื่องฟ้า หมายถึง ความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรืองที่ก้าวไกลแห่งชีวิต

    ระบบการปกครอง 12 คณะสี

    โรงเรียนสุรนารีวิทยา เป็นโรงเรียนสตรีที่มีนักเรียนเข้าศึกษาจำนวนมากในทุกๆปี จึงได้มีการจัดการปกครองแบ่งเป็น "12 คณะสี" เพื่อให้สามารถดูและปกครองได้อย่างทั่วถึงกัน โดยใช้ชื่อวีรสตรีผู้กล้าหาญ และนางในวรรณคดีสมัยโบราณทั้งสิบสองคนเป็นตัวแทนของแต่ละคณะ ซึ่งเป็นหนึงในเอกลักษณ์ของโรงเรียน ประกอบด้วย
    •      คณะสุรนารี สีน้ำเงิน และได้อัญเชิญ "คุณหญิงโม(ท้าวสุรนารี)" วีรสตรีผู้ปกป้องเมืองโคราช เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะบุญเหลืออนุสรณ์ สีเขียวเข้ม และได้อัญเชิญ "คุณหญิงบุณเหลือ" วีรสตรีผู้ปกป้องเมืองโคราช เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะนพมาศ สีชมพู และได้อัญเชิญ "นางนพมาศ" กวีหญิงคนแรกของไทย เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะศรีสุริโยทัย สีเหลือง และได้อัญเชิญ "สมเด็จพระสุริโยทัย" วีรสตรีแห่งกรุงศรีอยุทธยา เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะเทพสตรี สีแดง และได้อัญเชิญ "ท้าวเทพสตรี" วีรสตรีของเมืองถลาง เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะศรีสุนทร สีฟ้า และได้อัญเชิญ "คุณมุก(ท้าวศรีสุนทร)" วีรสตรีผู้ปกป้องเมืองภูเก็ต เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะวิสุทธิกษัตริย์ สีม่วง และได้อัญเชิญ "พระวิสุทธิกษัตรีย์" สมเด็จพระบรมราชชนนีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะวิสาขา สีเทา และได้อัญเชิญ "นางวิสาขา" ผู้เลิศในทายิกา เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะสาวิตรี สีน้ำตาล และได้อัญเชิญ "นางสาวิตรี" สตรีผู้เลิศทางสติปัญญา เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะจามเทวี สีแสด และได้อัญเชิญ "พระนางจามเทวี" ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัย เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะมัทรี สีเขียวอ่อน และได้อัญเชิญ "พระนางมัทรี" ยอดพระมารดา แห่งกัณหาชาลี เป็นสตรีประจำคณะ
    •      คณะสีดา สีบานเย็น และได้อัญเชิญ "พระนางสีดา" พระชายาของพระราม เป็นสตรีประจำคณะ

    ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่มีชื่อเสียง